ที่มาและความสำคัญของวันคณะกรรมการหมู่บ้าน

คณะกรรมการหมู่บ้าน หรือ กม. จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช ๒๔๕๗ โดยถือกำหนดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ และในปี ๒๕๕๑ กระทรวงมหาดไทยได้ปรับปรุงโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) แล้วประกาศกำหนดให้วันที่ ๙ มีนาคม ของทุกปี เป็นวันคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ในการปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์ บทบาท อำนาจ หน้าที่และผลงานของคณะกรรมการหมู่บ้านให้สาธารณชนได้รับทราบอย่างแพร่หลาย โดยการสร้างหมู่บ้านที่เข้มแข็งจะเป็นรากฐานที่มั่นคงและเป็นพลังที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศในทุกมิติ โดยหากพิจารณาจากหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ให้ดีแล้วนั้น จะเห็นว่า กฎหมายกำหนดให้ กม. ทำหน้าที่เสมือนเป็น “คณะรัฐมนตรีของหมู่บ้าน” ที่คอยทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนโดยมีพื้นที่ดำเนินการในหมู่บ้าน ดังนั้นหากทุกภาคส่วนเข้าใจบทบาทหน้าที่ของ คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) และร่วมกันพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ให้เข้มแข็งแล้วนั้น การขับเคลื่อนทุกภารกิจในหมู่บ้านจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสมกับคำขวัญที่ว่า “ประเทศต้องมีรัฐบาล หมู่บ้านต้องมี กม.”
แผนพัฒนาหมู่บ้าน

เดิมการจัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาให้แก่ประชาชนในระดับหมู่บ้านนั้นอาจกล่าวได้ว่า ภาครัฐจะเป็นผู้ริเริ่มและดำเนินการทั้งหมด ส่วนประชาชนในระดับหมู่บ้านซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศและเป็นผู้ที่ประสบปัญหาจะมีโอกาสได้เข้ามามีส่วนร่วมน้อยมาก แต่เมื่อมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๗๘ (๒) กำหนดให้รัฐต้องจัดระบบการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีขอบเขตอำนาจหน้าที่ แและความรับผิดชอบที่ชัดเจนเหมาะสมแก่การพัฒนาประเทศและสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณ เพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๕๓/ ๑ กำหนดให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติ และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด นับจากปี ๒๕๕๐ เป็นต้นมา จังหวัดสามารถขอจัดตั้งงบประมาณเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดได้ โดยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดที่ครอบคลุมทุกมิติและแผนของจังหวัดจะต้อง มีความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศ นโยบายของรัฐบาล และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น รวมทั้งความต้องการและศักยภาพของประชาชน ความพร้อมของภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนในจังหวัด ประสานและสร้างการมีส่วนร่วม พร้อมเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามาร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์ การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเพื่อให้เกิดความเห็นพ้องต้องกันในยุทธศาสตร์ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และร่วมรับผิดชอบต่อการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ บูรณาการตั้งแต่กระบวนการวางแผน กระบวนการกำหนดยุทธศาสตร์ การบริหารตามแผนและยุทธศาสตร์ รวมไปถึงการบูรณาการระหว่างแผ่นงานและแผนงบประมาณ การบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคท้องถิ่น และภาครัฐกับภาคธุรกิจเอกชน การที่จังหวัดจะทราบข้อมูลปัญหา ความต้องการและศักยภาพของประชาชนภายในจังหวัดได้ก็ต้องอาศัยกลไกในระดับหมู่บ้าน/ชุมชนเป็นผู้สะท้อนข้อมูลดังกล่าวให้จังหวัดในรูปแบบของแผนงาน/โครงการ ดังนั้น ก่อนจะได้มาซึ่งแผนงาน/โครงการที่เป็นปัญหาความต้องการของหมู่บ้าน ประชาชนในหมู่บ้านก็จะต้องมีการสำรวจข้อมูลของตนเอง ครัวเรือน และหมู่บ้านก่อน เมื่อทราบข้อมูลทั้งหมด แล้วก็จะต้อง นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดลำดับความสำคัญของปัญหาแล้วทำเป็น […]
สิ่งที่ กม. ต้องปฏิบัติ

ระเบียบกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้แบ่ง กม. ออกเป็นคณะทำงานด้านต่างๆ แล้ว ก่อนที่คณะทำงานแต่ละด้านจะทำงานตามที่ได้รับมอบหมายก็จะต้องมีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือแนวทางการทำงานในแต่ละเรื่องว่าควรจะเป็นอย่างไรเพื่อระดมสมองและหาทางออกร่วมกันก่อนที่จะลงมือทำงาน กล่าวคือต้อง “ร่วมกันคิด แล้วแยกกันทำ” โดยแต่ละตำแหน่งควรแสดงบทบาท ดังนี้ ผู้ใหญ่บ้าน (ประธาน กม. หรือนายกรัฐมนตรีของหมู่บ้าน) เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน ศึกษากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของ กม. ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิดเพื่อให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ประชุม กม. สม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง เพื่อแจ้งข้อราชการและหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน มอบหมายงาน กระจายความรับผิดชอบ ให้คณะทำงานแต่ละด้านตามความรู้ ความสามารถ สิ่งสำคัญต้องเน้นการทำงานเป็นทีม สร้างเครือข่ายและแสวงหาความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ติดตามผลงานตามที่ได้มอบหมายว่าเป็นอย่างไร ต้องปรับปรุงเพิ่มเติมส่วนใดหรือไม่ ประเมินผลงานตามที่ได้มอบหมายว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงไร สมควรจะมอบหมายงานนั้นๆ ให้ทำต่อหรือไม่ ถ้าไม่ ควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนหน้าที่ให้เหมาะสม ปฏิบัติตนเป็นผู้ประสานงานที่ดี กรรมการหมู่บ้าน (คณะรัฐมนตรีของหมู่บ้าน) ศึกษาทำความเข้าใจบทบาทอำนาจหน้าที่ของ กม. ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม กม. อย่างสม่ำเสมอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอปัญหาความต้องการของหมู่บ้าน ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหากมีปัญหาอุปสรรค ต้องแจ้งประธาน กม. […]
คณะทำงานทั้ง ๗ ด้านของคณะกรรมการหมู่บ้าน

นอกจาก กม. จะมีหน้าที่ตามกฎหมาย (มาตรา ๒๘ ตรี แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑ ๑] พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้ง ๖ ข้อ ข้างต้นแล้ว ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การเป็นกรรมการหมู่บ้าน การปฏิบัติหน้าที่และการประชุมของคณะกรรมการหมู่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๑ ยังกำหนดให้ กม. แบ่งออกเป็นคณะทำงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย ดังนี้ ๑. ด้านอำนวยการ มีหน้าที่ ดังนี้ งานธุรการ การจัดเก็บเอกสารต่างๆ ของหมู่บ้าน การจัดประชุม เช่น การประชุม กม. การประชุมหมู่บ้านฯ การรับจ่ายและเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของหมู่บ้าน การประชาสัมพันธ์ข่าวสารสร้างความเข้าใจกับประชาชน การประสานงานและติดตามการทำงานของคณะทำงานด้านต่างๆ ทั้ง ๗ คณะ การจัดทำรายงานผลการดำเนินการของคณะทำงานในรอบปีว่ามีผลงานในเรื่องใดบ้าง งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย ๒. ด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย มีหน้าที่ ดังนี้ การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองระบอบประชาธิปไตย […]
โครงสร้างของคณะกรรมการหมู่บ้าน

กฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการหมู่บ้าน หรือ กม. เป็นผู้เสนอแนะและให้คำปรึกษาผู้ใหญ่บ้านในการปฏิบัติหน้าที่ จึงถือได้ว่า กม. เกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ โดยเริ่มแรกกฎหมายกำหนดให้ กม. ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน เป็นประธานผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่น้อยกว่า ๒ คน แต่ปัจจุบันกระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครองได้เสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๑ เกี่ยวกับโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน กม. โดยยึดหลัก “การบูรณาการคน และบูรณาการงานในหมู่บ้าน” โครงสร้างของคณะกรรมการหมู่บ้าน ประกอบด้วย คณะกรรมการหมู่บ้านโดยตำแหน่ง ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน เป็นประธาน กม. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีภูมิลำเนาในหมู่บ้าน (ส.อบต. สท. สจ.) ผู้นำ หรือผู้แทนกลุ่มองค์กร ในหมู่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านโดยการเลือก ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประชาชนในหมู่บ้านเลือก หมู่บ้านละอย่างน้อย ๒ คน แต่ไม่เกิน […]
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมหมู่บ้าน

นอกจากในหมู่บ้านจะมีผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ที่คอยทำหน้าที่ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่พี่น้องประชาชนในหมู่บ้านแล้ว เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านมีประสิทธิภาพมากขึ้น กฎหมายจึงได้กำหนดให้มีคณะกรรมการหมู่บ้าน หรือ กม. เป็นผู้เสนอแนะและให้คำปรึกษาผู้ใหญ่บ้านในการปฏิบัติหน้าที่อีกด้วย คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ถือเป็นกลไกของหมู่บ้านที่ใกล้ชิดประชาชน รู้และเข้าถึงข้อมูล สภาพพื้นที่ปัญหาและความต้องการของประชาชนในหมู่บ้านดีที่สุด โดยมีโครงสร้างและอำนาจหน้าที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม และครอบคลุมการทำงานในทุกมิติของหมู่บ้าน เสมือนเป็น “คณะรัฐมนตรีประจำหมู่บ้าน” คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) มีบทบาทหน้าที่ในการช่วยเหลือแนะนำให้คำปรึกษาแก่ผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านและปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการหรือที่นายอำเภอมอบหมายหรือผู้ใหญ่บ้านร้องขอ รวมทั้งเป็นองค์กรหลักที่รับผิดชอบในการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านและบริหารจัดการกิจกรรมที่ดำเนินงานในหมู่บ้านร่วมกับองค์กรอื่นทุกภาคส่วน บทบาทและหน้าที่ของ กม. นั้นตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเน้นให้ “ทำงานเป็นทีม” โดยให้ กม. เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ใหญ่บ้านในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งมีอยู่มากมาย ดังนี้ ๑. การช่วยเหลือ แนะนำ และให้คำปรึกษาผู้ใหญ่บ้าน การให้ความช่วยเหลือผู้ใหญ่บ้านในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ทั้งการอำนวยความเป็นธรรม การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ และการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐรวมทั้งการเป็นผู้ช่วยนายอำเภอของผู้ใหญ่บ้าน ๒. การปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย การปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้มีระเบียบ หรือกฎหมาย ให้อำนาจไว้ เช่น การประนีประนอม ข้อพิพาทในหมู่บ้าน เป็นต้น ๓. การทำงานตามที่นายอำเภอมอบหมาย กรณีที่นายอำเภออาจมีภารกิจหรือมีความจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจาก กม. จึงจะทำให้การทำงานนั้นประสบความสำเร็จนายอำเภอก็จะมอบหมายให้ กม. […]